สีของฉนวนสายไฟตามมาตรฐาน มอก.11-2553
สีของฉนวนสายไฟตามมาตรฐาน มอก.11-2553

วันนี้ Phelps Dodge จะขอมาทบทวนกันอีกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับ ช่างไฟฟ้ามืออาชีพ วิศวกรไฟฟ้า และ บุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องของสายไฟ เพราะเรื่องของ..สายไฟไม่ใช่อะไรก็ได้  เราจึงต้องใส่ใจในการเลือกใช้และอัพเดทข้อมูลตามมาตรฐานกำหนด โดยวันนี้จะเป็นเรื่องของสีของฉนวนสายไฟฟ้าซึ่งสอดคล้องกับการกำหนดสีของสายไฟฟ้าสำหรับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของ วสท. ฉบับปี 2556 ค่ะ ตามไปอ่านกันเลย

แล้วทำไมต้องมีการเปลี่ยนสีของสายไฟ? 
การที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงสีของสายไฟฟ้าก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน IEC ที่เป็นมาตรฐานสากลที่นานาชาติยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งประเทศเรารับเอามาใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงทั้งสำหรับสายไฟฟ้าหลายๆชนิดและสำหรับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า

มีข้อดีคือ 
ข้อกำหนดในมาตรฐานมีที่มาที่ไปในการอ้างอิงทางวิชาการที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับ
ช่างไฟฟ้าและวิศวกรไฟฟ้าในทุกประเทศทั่วโลกที่อ้างอิงมาตรฐาน IEC เหมือนกัน ต่างก็ทำงานอยู่บนพื้นฐานข้อกำหนดและมาตรฐานเดียวกัน หากต้องทำงานร่วมกันก็สามารถทำได้โดยสะดวก

ลองนึกภาพ ช่างไฟฟ้าของไทยไปปฏิบัติงานต่างประเทศ เมื่อเห็นสายที่ต่ออยู่ในตู้ไฟฟ้า ก็รู้ได้ทันทีว่าสายเส้นใดคือเส้นไฟ เส้นนิวทรัล และเส้นสายดิน จึงไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้งานและลดโอกาสเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานอีกด้วยค่ะ

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานรวมถึงสีของฉนวนสายไฟฟ้าก็สร้างความสับสนแก่ผู้ปฏิบัติงานในบ้านเราอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงแรกที่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึง ดังนั้นเราจึงต้องคอยติดตามข่าวสารความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ ซึ่ง PHELPS DODGE ก็จะนำความรู้ดีๆแบบนี้มานำเสนอบ่อยๆ
เพื่อให้ทุกคนใช้งานสายไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยค่ะ

 

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก pdcable.com